การตรึงที่กางเขนเป็นการทรมาน..ให้ตายอย่างช้าๆ

: เขียนโดย อาจารย์ปัญญา โชชัยชาญ

              

                ในสมัยของพระคริสต์นั้น    รัฐบาลโรมจะประหารชีวิตนักโทษโดยการจับตรึงที่กางเขน

การลงโทษโดยใช้วิธีนี้     มิใช่เพื่อล้างผลาญชีวิตของผู้กระทำผิดเท่านั้น      แต่เพื่อให้ประชาชน

ได้เห็นโทษที่ผู้กระทำผิดได้รับอีกด้วย

                ในช่วง 150 ปีที่ผ่านมา มีหนังสือและการศึกษาอย่างน้อย  10 ฉบับ   ที่พยายามทำความ

เข้าใจสาเหตุทางกายภาพของการเสียชีวิตของพระเยซู    ในจำนวนนี้รวมถึงความพยายามของ

คนอเมริกันกลุ่มหนึ่งในปี 2005  ที่มีการตรึงอาสาสมัครกับกางเขนชั่วคราว       และอย่างปลอดภัย

ด้วยเข็มขัด การทดลองนี้ทำให้ได้มาซึ่งสมมติฐานมากมาย ตั้งแต่หัวใจล้มเหลวไปจนถึงเลือดคั่ง

ในปอด และอาการสลบและช็อคเนื่องจากความดันโลหิตลดต่ำ เหยื่อจะเจ็บปวดทรมานอยู่นาน 6 ชั่วโมง นับจากถูกตรึงกางเขน จนเสียชีวิตจากการ

เสียเลือด ขาดน้ำ และน้ำหนักของร่างกายที่กดทับปอด

        การตรึงที่กางเขน เป็นการทรมานนักโทษให้ตายอย่างช้าๆ  ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนขยาดกลัว  มิกล้ากระทำผิด  วิธีตรึงที่กางเขนนั้น    แตกต่าง 

กันไปบ้างเล็กน้อยตามแต่ละแห่ง แต่ผลลัพธ์นั้นก็เหมือนกัน คือ ความเจ็บปวดรวดร้าวจนตาย อย่างช้าๆ

        การโบยตี – บางครั้ง สิ่งแรกสุด ในกระบวนการตรึงที่กางเขนก็คือ การเฆี่ยนตีผู้กระทำผิดจนเกือบจะตาย       จากประวัติศาสตร์ที่มิได้ระบุระยะ

เวลาอย่างชัดแจ้ง  นักโทษที่ถูกโบย 40 ที ถึงแก่ความตาย     ดังนั้นเองพวกทหารโรมันจึงโบยนักโทษแต่เพียง 39 ที เท่านั้น  โดยใช้แส้ที่มีสายหนัง

หลายเส้น   แต่ละเส้นมีหินหรือกระดูกแหลมคมติดอยู่ที่ปลายแส้    นักโทษที่ถูกโบยจะมีแผ่นหลังและสีข้างเป็นรอยแตกยับ        กระดูกสันหลังได้รับ

ความกระทบกระเทือนจนประสาทถูกทำลาย

        การแบกไม้กางเขน – นักโทษบางคนต้องแบกไม้กางเขนไปยังแดนประหารเป็นระยะทางไกล    เพื่อประจานตัวเอง         มิให้ประชาชนเอาเป็น

เยี่ยงอย่าง  โดยทั่วไปแล้ว นักโทษผู้เคราะห์ร้ายจะถูกบังคับให้แบกกางเขน

       นักประวัติศาสตร์ รายงานว่า ชาวโรมันใช้วิธีตรึงที่กางเขน 2 แบบ ในสถานที่ต่างกันและอันที่จริงแล้ว    เราก็ไม่แน่ใจว่า   พวกเขาใช้วิธีใดกับ

องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา

       วิธีแรก พวกทหารโรมันจะปักไม้ท่อนตรงลงในแดนประหารอย่างแน่นหนา นักโทษจะถูกบังคับให้แบกไม้อีกท่อนหนึ่ง   (ซึ่งมีขนาดและน้ำหนัก

พอๆ กับไม้หมอนรถไฟ)    ไปจนถึงที่ประหารซึ่งทหารโรมันจะตรึงแขนทั้งสองข้างของเขากับท่อนไม้ที่แบกมา     จากนั้นก็จะยกขึ้นพาดกับไม้หลัก

ตรงรอยบาก แล้วผูกให้ติดกันแน่น พวกทหารจะตอกตะปูทะลุเท้าของนักโทษให้ติดกับไม้หลัก โดยให้เข่าทั้งคู่งอ และฝ่าเท้านาบไปกับไม้หลักนั้น

      วิธีที่สอง ทหารโรมันจะเอาไม้มาประกอบกันเป็นไม้กางเขน   แล้วบังคับให้นักโทษแบกลากไปแดนประหาร ณ ที่นั้นพวกเขาจะตรึงแขนและเท้า

ของนักโทษกับไม้กางเขน ดังได้พรรณนามาแล้วข้างต้น การตรึงทั้งสองวิธีจะใช้เชือกหรือสายหนัง   รัดตรึงแขนทั้งสองข้างของผู้เคราะห์ร้ายเข้า

กับกางเขน บางครั้งอาจใช้แทนการตอกตะปู หรืออาจใช้ประกอบเพิ่มจากการตอกตะปูแล้วก็ได้

       จากนั้น    พวกเขาก็จะช่วยกันยกกางเขนมาหย่อนลงในหลุมที่ขุดในหิน แล้วตอกลิ่มที่โคนกางเขนเพื่อมิให้โคลงเคลง    ตอนนี้เองที่ความทุกข์

ทรมานจนตายอย่างช้าๆ ได้เริ่มขึ้น เมื่อแขนทั้งสองข้างของนักโทษเหยียดออก น้ำหนักของร่างกายก็ถ่วงลงจากข้อมือ ดึงกล้ามเนื้อที่ทรวงอก(ซึ่ง

มีหน้าที่ควบคุมการหายใจ) ทำให้เกิดอาการชา การหายใจติดขัด   ตามเนื้อตามตัวของนักโทษจะปรากฎ รอยจ้ำ ดำๆ หลายๆ แห่งให้เห็น      ทั้งนี้

เพราะร่างกายขาดออกซิเจน ดังนั้นเพื่อจะได้หายใจสักหนึ่งหรือสองเฮือก นักโทษผู้ อ่อนระโหยโรยแรงก็จะกระเสือกกระสนเหยียดตัวขึ้น      โดย

การเขย่งเท้า (ทำให้น้ำหนักของร่างกายทั้งหมดมาตกที่ตะปูตัวที่แทงทะลุเท้าทั้งสองข้าง)

       แต่ในไม่ช้าผู้เคราะห์ร้ายก็จะทิ้งตังลงอยู่ในสภาพเดิม) (คือ เข่างอทั้งคู่)   เพราะ เจ็บปวดแสนสาหัส    เขาจะเหยียดตัวขึ้นแล้วก็ทิ้งตัวลงอย่างนี้

เรื่อยๆ ไป ครั้นเวลาร่วงเลยไป ร่างที่บอบช้ำหมดเรี่ยวแรงก็จะหยุดนิ่ง เขย่งขาไม่ได้อีก นักโทษจะสั่นเทาไปทั้งตัว    ทั้งนี้เพราะกล้ามเนื้อที่ทรวงอก

เป็นอัมพาต ทำให้หายใจไม่ออก มีนักโทษประหารบางรายทนการทรมานอย่างนี้ ได้นานจนพวกทหารโรมันต้องใช้หอกเสียบ   และทุบขาให้หักทั้ง

สองข้าง เพื่อทำให้เขาไม่สามารถเหยียดตัวขึ้นหายใจได้ ไม่ช้าก็จะเกิดการชักกะตุกอย่างรุนแรงที่บริเวณหน้าอกของนักโทษ    ทำให้เขาสิ้นชีวิต

ลงทันที

        ลองพิจารณาดูเถิดว่า ลมหายใจ (ของนักโทษ)    แต่ละเฮือกนั้นมีค่ามากเพียงใด เพราะฉะนั้นพระดำรัสของ  พระเยซูเจ้าบน

ไม้กางเขน เกี่ยวกับการอภัยบาปจึงมีความหมายลึกซึ้งจริงๆ และเนื่องจากพระเยซูยินยอมให้พวกเขาแขวนพระองค์เองที่กางเขน

เพื่อเป็นค่าไถ่พวกเรา ท่านเปาโลจึงเรียกร้องให้เรามีความเชื่อว่า   “…. พระองค์ทรงถ่อมพระองค์ลงยอมเชื่อฟังจนถึงความมรณา

กระทั่งความมรณาที่กางเขน” (ฟิลิปปี 2:6)